“ศาสตราวุธ” ผงาดกลาง Ford Theatres
หลังจาก “ตำนานแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ผงาดขึ้นบนเวทีฟอร์ดเธียเตอร์เป็นครั้งแรกเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านบทละคร ที่สร้างสรรค์โดยกลุ่มมันตรา ผ่านมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม มันตราได้กลับมาที่นี่อีกครั้งกับโชว์ในชุด “ศาสตราวุธ” ซึ่งยังคงเจตนารมณ์เดิม นั่นก็คือการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ได้มาตรฐานสู่เวทีสากล เจตนารมณ์ที่ ณ วันนี้ ได้ก้าวสู่ความเป็นจริงและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไทยในลอสแอนเจลิส
ถ้าถามว่าการแสดงสองชุดนี้มีความต่างกันหรือไม่ คำตอบที่เห็นได้ชัดเจน คือ แตกต่าง เพราะครั้งแรกมีรูปแบบเป็นละคร มีเนื้อเรื่องสลับกับการร่ายรำที่โชว์ความหลายหลากของท้องถิ่นไทยในแต่ละภูมิภาค มาคราวนี้ “ศาสตราวุธ” ถือว่าเป็นการแสดงล้วนๆ ไม่ได้มีการดำเนินเรื่อง อีกทั้งผู้แสดงก็มีจำนวนน้อยกว่าคราวที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกแบบโชว์ในครั้งนี้ที่ผสมผสานความเข้มแข็งหนักแน่นและความอ่อนโยนไว้อย่างลงตัว ดูพอดี การเปิดฉากด้วยการตีกลองสะบัดชัย ดูตื้นเต้น เร้าใจ สำหรับคนไทยจะรู้กันว่า เป็นการตีกลองเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกศึกสงคราม ซึ่งในระยะหลัง เราจะเห็นได้จากการแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวล้านนา อีกทั้งผู้แสดงที่เป็นนักรบชายฉกรรจ์ได้ประสานเสียงบทสวดพาหุง ยิ่งย้ำชัดว่าจะไปออกรบจับศึก ต่อด้วยการรำไหว้ครู แสดงนัยของโชว์ “ศาสตรวุธ” ด้วยการใช้อาวุธประเภทต่างๆที่ใช้ในสมัยก่อน
ฉากที่สอง เป็นการแห่นางรำ ซึ่งยืนร่ายรำอย่างงดงามอ่อนช้อยอยู่บนลำไม้ไผ่ 2 ลำ ตอนเธอลงมาจากลำไม้ไผ่ชวนให้อัศจรรย์ใจถึงความสามารถในการสร้างสมดุลย์ให้กับตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อด้วยฉากที่สาม เป็นการโชว์รำดาบของผู้หญิง ที่ไฮไลท์อยู่ที่การคาบดาบที่ถูกนำมาเรียงซ้อนๆกัน ตบท้ายด้วยการเอาดาบที่คาบอยู่มาปักไว้ แล้วนอนทับดาบพวกนั้นเหมือนล้มโดมิโน สร้างความชอบอกชอบใจให้กับผู้ชมที่ตบมือให้อย่างเกรียวกราว และแล้ว ก็มาถึงฉากที่แสดงถึงศิลปะการต่อสู้ของไทยในสมัยโบราณ ฉากนี้ฟันดาบต่อสู้กันจนไฟแลบ อันนี้เรื่องจริง ไม่ใช่อุปมาอุปไมย เพราะแรงเสียดสีของคมดาบแรงพอทำให้เกิดประกายไฟ ทำให้คนดูตื่นเต้นและลุ้นระทึกตามไปด้วย เนื่องจากเสียงดนตรีที่ปลุกเร้า ระรัวด้วยเสียงกลอง ต่อด้วยฉากที่น่ารักๆของนักแสดงที่เล่นเป็นหนุมาน มีท่าทางหยอกล้อ ท้าทายคู่ต่อสู้ มีมุกตลกให้คนดูได้ผ่อนคลาย สำหรับฉากที่โชว์ชุดประกอบการรำที่ดูงดงามเห็นจะต้องยกให้ชุดรำกริชมาลายู
สำหรับดนตรี ที่เป็นการร่วมงานของไทยและวงดนตรี Hands on Semble ก็เรียกเสียงเกรียวกราวจากผู้ชมต่างชาติได้ไม่น้อย วงนี้มีผลงานการทำดนตรีให้กับภาพยนต์เรื่อง Prince of Persia จุดนี้ดูเหมือนว่า เข้าถึงเป้าหมายของมันตราไปขั้นหนึ่ง อีกฉากที่น่าประทับใจ คือการผสมผสานการร่ายรำของกลุ่มผู้หญิงสลับกับการโชว์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการฝึกท่าต่อสู้ของกลุ่มผู้ชาย เป็นสัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่ายๆถึงความแตกต่างที่ลงตัว มีการโชว์ท่ามวยไทย ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ ปิดฉากด้วยการต่อสู้อีกครั้ง ซึ่งนักแสดงตัวเอกมีทักษะในการต่อสู้ที่เก่งกล้า ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะมาด้วยอาวุธชนิดใด เขาก็เอาชนะได้หมด แต่สุดท้าย เขาจะเอาชนะตัวเองได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่คนดูต้องฉุกคิดขึ้นมาจากบทบรรยายที่สอดแทรกออกมา ว่าการเอาชนะผู้อื่นไม่เท่ากับการเอาชนะใจของตัวเอง
พูดถึงความต่างของผลงานจากมันตราทั้งสองชุดไปแล้วตอนต้น แต่ความเหมือนของการแสดงสองชุดที่ผ่านมา คือแนวคิดที่สอดคล้องตรงกันว่า การเอาชนะคะคานกับคนที่ถือว่าเป็นคู่ต้อสู้หรือศัตรูกันนั้น ไม่ได้ส่งผลดีกับใครเลย เพราะนำมาซึ่งความสูญเสียโดยเฉพาะการสู้รบกับคนในชาติเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริง จะไม่เกิดการเรียนรู้สักเท่าไร เพราะคนส่วนใหญ่ที่ยังเวียนวนอยู่ในความโลภ โกรธ หลง มักจะใช้วิธีสิ้นคิด นั่นคือนิยมใช้ความรุนแรงให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติ ซึ่งผู้กระทำได้เพียงความสะใจเล็กๆน้อยๆ ในขณะที่คนหมู่มากล้วนสูญเสีย และเศร้าหมอง สิ่งที่ท้าทายสำหรับการออกแบบการแสดง อยู่ที่การทำให้คนต่างชาติเข้าใจถึงความเป็นไทยให้ได้มากที่สุดผ่านการแสดงต่างๆที่ใช้เวลาจำกัด ข้อดีของผู้ชมต่างชาติ คือความกระหายใคร่รู้ หากเขาสนใจอะไรก็จะนำไปต่อยอด ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม จากที่สังเกต คนดูที่เป็นต่างชาติส่วนใหญ่คงเป็นแฟนขาประจำของโรงละครฟอร์ด เพราะเขาจัดเตรียมผ้าห่มมาปูที่นั่งให้เกิดความสบายมากขึ้น คนกลุ่มนี้ จะทำประโยชน์ให้เราในแง่ของการเป็นสื่อกลางในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้บรรดาเพื่อนฝูงของเขาให้ความสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยในวงที่กว้างขึ้น
ฉากที่สอง เป็นการแห่นางรำ ซึ่งยืนร่ายรำอย่างงดงามอ่อนช้อยอยู่บนลำไม้ไผ่ 2 ลำ ตอนเธอลงมาจากลำไม้ไผ่ชวนให้อัศจรรย์ใจถึงความสามารถในการสร้างสมดุลย์ให้กับตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อด้วยฉากที่สาม เป็นการโชว์รำดาบของผู้หญิง ที่ไฮไลท์อยู่ที่การคาบดาบที่ถูกนำมาเรียงซ้อนๆกัน ตบท้ายด้วยการเอาดาบที่คาบอยู่มาปักไว้ แล้วนอนทับดาบพวกนั้นเหมือนล้มโดมิโน สร้างความชอบอกชอบใจให้กับผู้ชมที่ตบมือให้อย่างเกรียวกราว และแล้ว ก็มาถึงฉากที่แสดงถึงศิลปะการต่อสู้ของไทยในสมัยโบราณ ฉากนี้ฟันดาบต่อสู้กันจนไฟแลบ อันนี้เรื่องจริง ไม่ใช่อุปมาอุปไมย เพราะแรงเสียดสีของคมดาบแรงพอทำให้เกิดประกายไฟ ทำให้คนดูตื่นเต้นและลุ้นระทึกตามไปด้วย เนื่องจากเสียงดนตรีที่ปลุกเร้า ระรัวด้วยเสียงกลอง ต่อด้วยฉากที่น่ารักๆของนักแสดงที่เล่นเป็นหนุมาน มีท่าทางหยอกล้อ ท้าทายคู่ต่อสู้ มีมุกตลกให้คนดูได้ผ่อนคลาย สำหรับฉากที่โชว์ชุดประกอบการรำที่ดูงดงามเห็นจะต้องยกให้ชุดรำกริชมาลายู
สำหรับดนตรี ที่เป็นการร่วมงานของไทยและวงดนตรี Hands on Semble ก็เรียกเสียงเกรียวกราวจากผู้ชมต่างชาติได้ไม่น้อย วงนี้มีผลงานการทำดนตรีให้กับภาพยนต์เรื่อง Prince of Persia จุดนี้ดูเหมือนว่า เข้าถึงเป้าหมายของมันตราไปขั้นหนึ่ง อีกฉากที่น่าประทับใจ คือการผสมผสานการร่ายรำของกลุ่มผู้หญิงสลับกับการโชว์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการฝึกท่าต่อสู้ของกลุ่มผู้ชาย เป็นสัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่ายๆถึงความแตกต่างที่ลงตัว มีการโชว์ท่ามวยไทย ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ ปิดฉากด้วยการต่อสู้อีกครั้ง ซึ่งนักแสดงตัวเอกมีทักษะในการต่อสู้ที่เก่งกล้า ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะมาด้วยอาวุธชนิดใด เขาก็เอาชนะได้หมด แต่สุดท้าย เขาจะเอาชนะตัวเองได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่คนดูต้องฉุกคิดขึ้นมาจากบทบรรยายที่สอดแทรกออกมา ว่าการเอาชนะผู้อื่นไม่เท่ากับการเอาชนะใจของตัวเอง
พูดถึงความต่างของผลงานจากมันตราทั้งสองชุดไปแล้วตอนต้น แต่ความเหมือนของการแสดงสองชุดที่ผ่านมา คือแนวคิดที่สอดคล้องตรงกันว่า การเอาชนะคะคานกับคนที่ถือว่าเป็นคู่ต้อสู้หรือศัตรูกันนั้น ไม่ได้ส่งผลดีกับใครเลย เพราะนำมาซึ่งความสูญเสียโดยเฉพาะการสู้รบกับคนในชาติเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริง จะไม่เกิดการเรียนรู้สักเท่าไร เพราะคนส่วนใหญ่ที่ยังเวียนวนอยู่ในความโลภ โกรธ หลง มักจะใช้วิธีสิ้นคิด นั่นคือนิยมใช้ความรุนแรงให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติ ซึ่งผู้กระทำได้เพียงความสะใจเล็กๆน้อยๆ ในขณะที่คนหมู่มากล้วนสูญเสีย และเศร้าหมอง สิ่งที่ท้าทายสำหรับการออกแบบการแสดง อยู่ที่การทำให้คนต่างชาติเข้าใจถึงความเป็นไทยให้ได้มากที่สุดผ่านการแสดงต่างๆที่ใช้เวลาจำกัด ข้อดีของผู้ชมต่างชาติ คือความกระหายใคร่รู้ หากเขาสนใจอะไรก็จะนำไปต่อยอด ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม จากที่สังเกต คนดูที่เป็นต่างชาติส่วนใหญ่คงเป็นแฟนขาประจำของโรงละครฟอร์ด เพราะเขาจัดเตรียมผ้าห่มมาปูที่นั่งให้เกิดความสบายมากขึ้น คนกลุ่มนี้ จะทำประโยชน์ให้เราในแง่ของการเป็นสื่อกลางในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้บรรดาเพื่อนฝูงของเขาให้ความสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยในวงที่กว้างขึ้น
No comments: