เปลี่ยนน้ำเสียเป็นน้ำดี ที่แหลมผักเบี้ย

4:41 AM


โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ต.แหลมผักเบี้ย .บ้านแหลม .เพชรบุรี ที่นี่มีไฮไลท์อยู่ที่วิธีการกำจัดขยะและน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีง่ายๆแถมราคาถูก ด้วยกระบวนการที่ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
โครงการฯนี้ยังเป็นการเน้นย้ำถึงพระอัจฉริยภาพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ ที่ทรงห่วงใยปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมอันเกิดจากขยะและน้ำเสียในชุมชน ที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทรงมีกระแสพระราชดำริเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๓ ความตอนหนึ่งว่า “...ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในบางเทคโนโลยีทำได้ แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้” “...แล้วก็ต้องทำการเรียกว่า การกรองน้ำ ให้ทำน้ำนั้นไม่ให้โสโครก แล้วปล่อยน้ำลงมา ที่เป็นที่ทำการ เพาะปลูก หรือทำทุ่งหญ้า หลังจากนั้นน้ำที่เหลือ ก็จะลงทะเลโดยไม่ทำให้น้ำนั้นเสียจากแนวพระราชดำรัสนี้เองถือเป็นที่มาของโครงการที่จะนำมาบอกเล่ากันดังต่อไปนี้


ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เมื่อมาถึงแล้วก็ต้องรับฟังการบรรยายสรุปเสียก่อน จากนั้นเราทุกคนได้ออกไปชมสถานที่จริงในโครงการฯ มีคุณจิราพร จำปา เจ้าหน้าที่ด้านการส่งเสริมและเผยแพร่มาเป็นวิทยากรบรรยายกันถึงในรถ จุดขายของแหลมผักเบี้ยนั้น คือเป็นหาดทรายเม็ดแรกของอ่าวไทยเนื่องจากที่บริเวณปลายแหลมระยะทางยาวกว่า กิโลเมตร เป็นจุดเริ่มต้นของหาดทรายริมฝั่งทะเลอ่าวไทย เพราะทะเลตั้งแต่กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาจนถึงเพชรบุรี จะเป็นทะเลโคลนทั้งหมด แหลมผักเบี้ยยังถูกเรียกกันอีกชื่อว่าแหลมหลวงเนื่องจากเป็นที่ตั้งขงอโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เรามาเยี่ยมชมนี่เอง แต่เสียดายที่เราไม่มีเวลาพอที่จะเดินทางไปชมบริเวณปลายแหลมที่ชาวบ้านบอกว่าเป็นที่ตั้งของทรายเม็ดแรก ถ้ามีโอกาสจะต้องกลับไปชมอย่างแน่นอน
สิ่งแรกที่เราได้ไปเห็นคือเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่ทางโครงการฯได้รวบรวมน้ำเสียมาจากเทศบาลเมืองเพชรบุรีส่งผ่านท่อลำเลียงเป็นระยะทางประมาณ 18.5 กม.เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้กระบวนการทางธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย 4 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งแบ่งออกเป็นบ่อตกตะกอน บ่อผึ่งที่ 1, 2 และ3 ซึ่งน้ำเสียจะได้รับการบำบัดให้มีสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจะนำไปสู่บ่อบำบัดหรือปรับสภาพ ทำให้น้ำใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระบบที่ 2 ที่เราได้ไปดูคือการใช้ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ระบบที่ 3 เป็นระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมและสุดท้ายเป็นระบบแปลงพืชป่าชายเลน 

ทั้งหมดทั้งมวลนอกจากจะช่วยปรับสภาพน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการที่สิ่งมีชีวิตต่างๆได้แห่กันมาอาศัยอยู่ในบริเวณโครงการฯ ทั้งนกนานาชนิด ปลานานาพันธุ์ ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ในป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ และที่เราสัมผัสอย่างเห็นได้ชัดคืออากาศที่บริสุทธิ์ ลมเย็นๆจากธรรมชาติที่พัดผ่านเข้ามา

สถานที่แห่งนี้นอกจากให้ความรู้แล้วยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นยอดที่ควรแก่การมาเยือนอย่างยิ่ง
ส่วนเทคโนโลยีการกำจัดขยะนั้น ได้ใช้วิธีการทำปุ๋ยหมักซึ่งประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย แถมยังสามารถนำปุ๋ยหมักมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย โดยบริเวณนี้มีการก่ออิฐบล๊อคขึ้นมา จากนั้นนำทรายละเอียดลงไปเทให้มีความหนา 20 ซม. เทขยะที่มีความหนา 15 ซม.ทับลงไป คราวนี้สลับการการเทดินหนา 3-5 ซม.กลบทับ เทขยะความหนาเท่าเดิมตามด้วยดินปริมาณเท่าเดิม และเทขยะหนา 15 ซม.ทับอีกครั้ง ส่วนชั้นสุดท้ายจะเป็นดินหนา 15 ซม. จากนั้นรดน้ำทุกๆ 7 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักและน้ำชะมาใช้ปลูกพืชเกษตรได้

No comments:

Powered by Blogger.